ทฤษฎีเซกิ SECI Model

ทฤษฎีเซกิ SECI Model

              วงจรความรู้ (Knowledge Spiral : SECI Model) ความรู้ทั้ง 2 ประเภท สามารถเปลี่ยนสถานะระหว่างกันได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า SECI Model หรือKnowledge Spiral ซึ่งคิดค้นโดย Ikujiro Nonaka และ Takeuchi เพื่อจัดการใช้ความรู้ทั้งสองชนิดอย่างสมดุล

โมเดล SECI ของ Nonaka และ Takeuchi
    2.1 SECI มีจุดอ่อนในแง่ทฤษฎีทางจิตวิทยาและการรับรู้ คือมองข้ามถึงการสังเกตของimplicit knowledge และกระบวนการที่ไม่ชัดเจนของ tacit knowledge โดย Polanyi ชึ้คือ tacit knowledge ประกอบด้วยความรู้โดยนัยที่มีอยู่ในตัวบุคคลแต่ไม่สามารถบอกเล่าได้หรือมันยากที่จะอธิบาย แต่อย่างไรก็ตามสามารถที่จะแปลงให้อยู่ในรูปของ explicit ได้ แต่ Nonaka & Takeuchi ไม่ได้กำหนดถึง implicit knowledge พวกเขาเพียงแค่พูดถึงชนิดของ tacit knowledge นี้จึงเป็นข้อแนะนำที่ว่า โมเดล SECI ไม่สมบูรณ์
                   โมเดล SECI ล้มเหลวในการแยกความแตกต่างระหว่างความรู้ของแนวโน้มและการกำหนดสถานการณ์ ความแตกต่างระหว่าง tacit และ explicit knowledge ที่นำไปสู่การแปลหรือการนำไปใช้ในการกำหนดแนวโน้มหรือกำหนดสถานการณ์หรือทั้งสองอย่าง ถ้าถูกนำไปใช้กับการกำหนดแนวโน้มมักพบว่ามันจะไม่มีความหมายเลย ถ้าไม่มีการใช้ explicit predispositions หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ถ้าเราใช้ tacit knowledge ถูกนำไปใช้กับการกำหนดสถานการณ์ มันจะมีความชัดเจนมากกว่า เช่นความสามารถในการขี่จักรยานไม่เหมาะกับการใช้ tacit knowledge

      2.2 ความแตกต่างของการจัดการความรู้แนวใหม่คือ subjective knowledge in minds และ objective knowledge in artifacts มีข้อมูลมากมายที่ขยายถึงความเป็นไปได้ในการแปลงความรู้ระหว่าง tacit , implicit และ explicit ขณะที่เรามี 3 หัวข้อ และ 2 จุดประสงค์ เราสามารถพิจารณาความรู้ โดยสามารถเพิ่มความเป็นไปได้ในการแปลงความรู้ได้ถึง 5 ในการพิจารณาโมเดลใหม่ ซึ่งจาก 5x5 matrix เราจะได้ค่าความเปลี่ยนแปลงได้ถึง 25 จากการวิจัยโมเดลของ SECI ทำให้สามารถที่จะอธิบายได้ว่า SECI จับแค่ implicit knowledge แต่ไม่ได้รวมถึง tacit knowledge จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาและไม่ได้พูดถึง โมเดล SECI จะต้องมีการเปลี่ยนให้กว้างขึ้น และสมบูรณ์ขึ้นซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้แนวใหม่ที่จะเป็นตัวสร้างโมเดลและนำไปสู่การวิจัย


โมเดลการสร้างความรู้ SECI
    1. การแบ่งปัน และสร้างความรู้โดยนัย สู่ความรู้โดยนัยระหว่างบุคคล ซึ่งเรียกว่า Socialization โดยเป็นการแลกเปลี่ยนผ่านประสบการณ์ การสังเกต การฝึกปฏิบัติ ระหว่างบุคคลที่สื่อสารกันโดยตรง Socialization
    2. การแบ่งปันและสร้างความรู้โดยนับไปสู่ความรู้ที่ชัดแจ้งซึ่งเรียกว่า Externalization เป็นการทำความรู้โดยนัยให้ชัดเจนด้วยวิธีการเปรียบเทียบ อุปมาอุปมัย สมมติฐาน หรือ ถ่ายทอดประสบการณ์มาเป็นลายลักษณ์อักษร
    3. การแบ่งปันและสร้างความรู้ที่ชัดแจ้งสู่ความรู้ที่ชัดแจ้ง ซึ่งเรียกว่า Combination โดยแลกเปลี่ยน และผสมผสานความรู้ที่ชัดแจ้งของบุคคลผ่านสื่อหรือช่องทางความรู้ต่าง ๆ
    4. การแบ่งปันและสร้างความรู้ที่ชัดแจ้งสู่ความรู้โดยนัย ซึ่งเรียกว่า Internalization โดยการเรียนรู้และประสบการณ์ของบุคคลไม่ว่าจะเป็นความรู้โดยนัยหรือความรู้ที่ชัดแจ้งจะรวมกลับมาเป็นความรู้โดยนัยที่ซ่อนฝังลึกอยู่ในตัวบุคคลนั้น

ประโยชน์ของการจัดการความรู้
  1) ช่วยเก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์การตลอดไป
  2) ช่วยลดระยะเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การให้บริการ หรือการเรียนรู้งานใหม่
  3) ปรับปรุงประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับทุกส่วนขององค์การ
  4) เสริมสร้างนวัตกรรมใหม่ทั้งทางด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ
  5) ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรมีคุณภาพเพิ่มขึ้นและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานอันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ
  6) ช่วยให้องค์การมีความพร้อมในการปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอดและได้เปรียบทางการแข่งขัน








อ้างอิง
http://we-are-worker.blogspot.com/2009/11/seci-model.html
http://www.saohaihospital.com/data_office/doc36.pdf
http://boboh-boh.blogspot.com/2010/12/seci-model-km.html
http://www.moe.go.th/main2/mobile_office/data/seci.htm
www.rbac.ac.th/site/assets/Science/Multimedia/data/401/Lesson9.ppt







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น