ทฤษฏีปลาทูโมเดล TUNA MODEL




ทฤษฏีปลาทูโมเดล TUNA MODEL


แนวคิดการจัดการความรู้แบบ Tuna Model
               ตัวแบบทูน่า (Tuna Model) เป็นกรอบแนวคิดอย่างง่ายมีลักษณะที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก มีความเหมาะสมในการใช้เป็นแนวทางเพื่อดำเนินการในการจัดการความรู้
โดยให้การจัดการความรู้เปรียบเสมือนปลา ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนหัว ส่วนลำตัว และส่วนหาง แต่ละส่วนมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้
         1. ส่วนหัวและตา (Knowledge Vision – KV) มองว่ากำลังจะไปทางไหน ซึ่งต้องตอบให้ได้ว่า “ทำ   KM ไปเพื่ออะไร”
         2. ส่วนกลางลำตัว (Knoledge Sharing – KS) ส่วนที่เป็นหัวใจได้ให้ความความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
      3. ส่วนหาง (Knowledge Assets – KA) คือ สร้างคลังความรู้ เชื่อโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ “สะบัดหาง” สร้างพลังจากชุมชนแนวปฏิบัติ

ส่วนหัวปลา หมายถึง Knowledge Vision ( KV ) ก็คือ วิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ เป็นการตอบคำถามว่า ประเด็น ที่เราสนใจนำมาจัดการความรู้นั้น เป็นประเด็นเรื่องอะไร เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ขององค์การอย่างไร เพราะถ้าหยิบมาผิดประเด็นไม่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ ก็แสดงว่า ปลาตัวนี้กำลัง “หลงทิศ” กำลังว่ายน้ำไปผิดทาง ซึ่งผู้บริหารที่จะมาทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง KM นี้ ต้องคอยสอดส่องดูแล คอยแนะนำ อย่าให้ปลาว่ายไปผิดทาง ซึ่งคำถามที่สำคัญ ที่จะต้องตอบให้ได้ ก็คือ “เรากำลังจะทำ KM ไปทำไม เรากำลังจัดการความรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร”
ส่วนตัวปลา หมายถึง Knowledge Sharing ( KS ) เป็นส่วนที่สำคัญ เป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ (Share & Learn ) ถือได้ว่าเป็น หัวใจ ของการทำ KM เป็นกระบวนการที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะการที่คนเราจะแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ไปให้ผู้อื่นนั้น ต้องอาศัยความผูกพัน การเป็นมิตร ความสนิทชิดเชื้อ ความไว้วางใจ ความห่วงใยต่อกันและกัน กระบวนการนี้จึงต้องเริ่มต้นที่การทำกิจกรรมสร้างความคุ้นเคยก่อนเป็นลำดับแรก และบรรยากาศที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดี ควรเป็นบรรยากาศที่สบายๆ มีความเป็นกันเอง ไม่เกร็ง ไม่เครียด และไม่เป็นทางการมากนัก กลุ่มแลกเปลี่ยนควรเป็นกลุ่มเล็กๆ ควรใช้วิธีการเล่าเรื่อง ที่เกิดขึ้นจริง โดยผลัดกันเล่าความสำเร็จ ความภูมิใจ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องของความสำเร็จต้องเล่าให้ละเอียดว่าเพราะอะไรจึงทำให้ได้รับความสำเร็จ หรือถ้าเป็นปัญหาควรบอกด้วยว่าสุดท้ายแล้วสามารถแก้ปัญหาผ่านไปได้อย่างไร และการแลกเปลี่ยนทางความคิดที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็ต่อเมื่อ ผู้ฟัง “เปิดรับฟัง” ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ไม่มีอคติ และคิดอย่างมีระบบ
ส่วนหางปลา หมายถึง Knowledge Asset ( KA ) คือ คลังความรู้ ซึ่งเปรียบเสมือน “ถัง” ที่เรานำเอาความรู้มาใส่ไว้ แล้วใช้ระบบการจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อผู้ใช้ประโยชน์สามารถนำเอาไปใช้ได้จริง ซึ่งความรู้ที่มีอยู่ในคลังนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
1. เป็นการบันทึกในลักษณะเรื่องเล่า หรือคำพูดที่เร้าใจ เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ เกิดแรงบันดาลใจ ความรู้ในลักษณะนี้ จะเป็นความรู้แบบ Tacit Knowledge
2. เป็นการบันทึกความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปเป็นประเด็นสาระสำคัญ ซึ่งเป็นความรู้ แบบ Explicit Knowledge
3. เป็นส่วนของความรู้ที่อ้างอิงจากแหล่งความรู้ต่างๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของเอกสาร การอ้างอิงถึงตัวบุคคล ผู้รู้ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญการ ที่ เรียกว่า References






เอกสารอ้างอิง
ประพนธ์ ผาสุขยืด. การจัดการความรู้ ( KM ) ฉบับขับเคลื่อน LO . พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร : ใยไหม, 2550.
วิจารณ์ พานิช. “ การจัดการความรู้คืออะไร.” ออนไลน์. แหล่งที่มา : http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html. 2552.
สมชาย นำประเสริฐชัย. “ การอบรมเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่คณาจารย์เรื่อง KM Success Story .” บรรยายที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขต กล้วยน้ำไท 8 ตุลาคม 2551.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น