ทฤษฏีภูเขาน้ำแข็ง NONAKA

ทฤษฏีภูเขาน้ำแข็ง NONAKA

ส่วนที่อยู่เหนือน้ำ สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย 
             1. ทักษะ (Skills) หมายถึง สิ่งที่บุคคลรู้และสามารถทำได้เป็นอย่างดี เช่น ทักษะการอ่าน ทักษะการฟัง ทักษะในการขับรถ เป็นต้น 
         2. ความรู้ (Knowledge) หมายถึง สิ่งที่บุคคลรู้และเข้าใจในหลักการ แนวคิดเฉพาะด้าน เช่น มีความรู้ ด้านบัญชี มีความรู้ด้านการตลาด การเมือง เป็นต้น

ส่วนที่อยู่ใต้น้ำ สังเกตเห็นได้ยาก 
            1. บทบาททางสังคม (Social Role) หมายถึง สิ่งที่บุคคลต้องการสื่อให้บุคคลอื่นในสังคมเห็นว่าตัวเขามีบทบาทอย่างไรต่อสังคม เช่น ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น 
        2. ภาพพจน์ที่รับรู้ตัวเอง (Self Image) หมายถึง ภาพพจน์ที่บุคคลสมองตัวเองว่าเป็นอย่างไร เช่น เป็นผู้นำ เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นศิลปิน เป็นต้น 
           3. อุปนิสัย (Traits) หมายถึง ลักษณะนิสัยใจคอของบุคคลที่เป็นพฤติกรรมถาวร เช่น เป็นนักกีฬาที่ดี เป็นคนใจเย็น เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น 
          4. แรงกระตุ้น (Motive) หมายถึง พลังขับเคลื่อนที่เกิดจากภายในจิตใจของบุคคล ที่จะส่งผลกระทบต่อการกระทำ เช่น เป็นคนที่มีความต้องการผลสำเร็จ การกระทำสิ่งต่างๆ จึงออกมาในลักษณะของการมุ่งไปสู่ความสำเร็จตลอดเวลา 

ถ้าหากเปรียบความรู้ระหว่าง 2 อย่างนี้ ดังเช่นภูเขาน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่ในน้ำ
              ➤Explicit    เปรียบได้กับ ส่วนของน้ำแข็งที่ลอยอยู่เหนือน้ำ มีเพียงนิดเดียวที่คนทั่วไปมองเห็น เพราะเป็นส่วนที่เห็นชัดเจน มองง่าย

               ➤Tacit  เปรียบได้กับ ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ เป็นก้อนใหญ่โตมหึมาหลบอยู่ใต้น้ำ คนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จึงเปรียบเสมือนประสบการณ์ของคน ที่ซึมซับ ฝังลึกอยู่ในตัวคนมากมาย ดังนั้น ถ้าไม่ถ่ายทอดออกมา คนอื่นๆที่ไม่มีความรู้ หรือรู้ไม่เท่าทัน ก็ไม่สามารถนำความรู้ที่ดีๆนั้นมาใช้ได้

ความรู้ในองค์กรมี 2 ชนิด คือ
1. ความรู้ส่วนบุคคล ( Personnel Knowledge ) คือ ความรู้ที่แต่ละบุคคลมีอยู่ซึ่งได้จากการปฏิบัติงาน แต่บางคนจะหวงความรู้ และไม่ถ่ายทอดให้ผู้อื่น หรือการถ่ายทอดจะถ่ายให้เพียงบางส่วน และจะกั๊กความรู้ไว้บางส่วน

2. ความรู้ขององค์การ ( Organization Knowledge ) คือ ความรู้ที่บุคคลปฏิบัติงานอยู่กับองค์การมานาน จนกระทั่งมีความชำนาญ ดังนั้น หากบุคคลลาออกจากองค์การ หรือ เกษียณอายุ ความรู้ของงานก็จะหายไปจากองค์การ เพราะไม่มีการบันทึกสาระสำคัญของงานเอาไว้ ดังนั้นงานที่สำคัญๆจึงควรต้องบันทึกและต้องจัดเก็บไว้เป็นระบบ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลังที่เข้ามาใหม่ ให้สามารถปฏิบัติงานขององค์การไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดการชะงักของงาน และไม่เกิดความเสียหายต่อองค์การ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น